การเฉลิมฉลองเทศกาลแข่งเรือมังกร ที่จัดขึ้นในเมืองต่างๆทั่วประเทศจีน นับ 100 แห่ง บรรยากาศการแข่งขันฯแต่ละแห่งล้วนสนุกสนานตื่นเต้น ผู้คนต่างส่งเสียงเชียร์ลุ้นการแข่งพายเรือมังกรกันอย่างสนุกสนาน ฝีพายที่ร่วมการแข่งขันในแต่ละแห่ง รวมทั้งสิ้นราว 300,000 คน โดยหนึ่งในนั้นมีชื่อของ อู๋ กัวฉง นักแข่งเรือมังกรชื่อดังของจีน รวมอยู่ด้วย
นอกจากนี้ในประเทศจีน บริเวณแม่น้ำฉางเจียง ( แยงซีเกียง ) ฮ่องกง ไต้หวัน มาเก๊า ยังมีการละเล่น แข่งเรือมังกร จัดอย่างยิ่งใหญ่ในวันนี้ด้วย แม้ว่าจีนจะเป็นแหล่งกำเนิดของการแข่งเรือมังกรมาเป็นเวลามากกว่า 2,000 ปี แต่ปัจจุบัน การแข่งเรือดังกล่าว ได้กลายเป็นกีฬายอดนิยมไปทั่วโลก
เทศกาลตวนอู่เจี๋ย เป็นเทศกาลที่สืบทอดกันมาแต่โบราณของประเทศจีน ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินทางจันทรคติ หรือ “โหงวเหว่ยโจ่ว” เป็นการระลึกถึงวันที่ คุกง้วน หรือ ชีหยวน หรือ จูหยวน , Qu Yuan (340-278 ปีก่อนคริสต์ศักราช) กวีผู้รักชาติแห่งรัฐฉู่ ชีหยวน เป็นผู้ที่มีความรอบรู้ และความสามารถรอบด้าน เป็นนักปราชญ์ราชกวีคนหนึ่ง รู้จักหลักการบริหารปกครองเป็นอย่างดี ได้มีพระบรมราชโองการ ให้เนรเทศชีหยวนออกจากแคว้นฉู่ไป ชีหยวนเศร้าโศกเสียใจมาก กระโดดน้ำเสียชีวิต นอกจากนี้ในประเทศจีน บริเวณแม่น้ำฉางเจียง ( แยงซีเกียง ) , ฮ่องกง, ไต้หวัน, มาเก๊า ยังมีการละเล่น แข่งเรือมังกร จัดอย่างยิ่งใหญ่ในวันนี้ด้วย ทางรัฐบาลจีนยังกำหนดให้วันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 นี้เป็น วันกวีจีน อีกด้วย เนื่องจากชีหยวน นับเป็นอีกผู้หนึ่งที่เป็นกวีคนสำคัญของจีน
บะจ่าง หรือขนมจั้ง หรือจ้งจื่อ ได้กลายมาเป็นอาหารหลักสำหรับประเพณีแข่งเรือมังกร บะจ่างทำด้วยข้าวเหนียว ใส่หมูหรือหมูแดง กับถั่วหรือเม็ดบัว และเครื่องปรุงต่างๆ ผัดแล้วห่อด้วยใบไผ่มัดเป็นทรงพีระมิดสามเหลี่ยม บางที่ก็เป็นรูปสี่เหลี่ยม ใช้เชือกมัดแล้วนึ่งให้สุก ซึ่งแต่ละท้องถิ่นก็จะทำไส้แตกต่างกันไป หลังจากนั้นในปีต่อมา ชาวบ้านต่างก็ทำตาม ที่ชีหยวนแนะนำ คือนำอาหารห่อด้วยใบไผ่ ไปโยนลงน้ำเพื่อ เซ่นให้แก่ชีหยวน หลังจากวันนั้นชีหยวน ก็ได้มาเข้าฝันชาวบ้านอีก ว่าคราวนี้ได้กินมากหน่อย แต่ก็ยังคงโดนสัตว์น้ำ ประเพณีการแข่งเรือมังกร และประเพณีการไหว้ ขนมจั้ง (บ๊ะจ่าง) จึงเกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้
สำหรับเทศกาลไหว้บะจ่างและการแข่งขันเรือมังกรปีนี้ จะตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน 2559คุณจะเห็นการแข่งขันเรือมังกรที่เมืองไหนบ้าง?